อุปกรณ์ร้านกาแฟมีอะไรบ้าง ที่คนอยากเปิดร้านกาแฟควรต้องรู้

เพื่อนๆเคยได้ยินประโยคที่ว่า “วงการกาแฟ ใครเข้ามาแล้วออกยาก หรือบางทีอาจจะไม่มีทางออก” บ้างมั้ยคะ เราเองก็เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ ที่เริ่มต้นจากคนไม่ดื่มกาแฟ มาเป็นเปิดใจลองชิม แล้วก็หลงเสน่ห์ไปกับกลิ่น รสชาติที่หลากหลายของแต่ละกระบวนการแปรรูปและแหล่งที่มา จนชื่นชอบจริงจัง และได้เข้ามาทำงานเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองหลงใหล ในตำแหน่ง Coffee Bard ประจำ Nespresso สาขาเชียงใหม่ เมืองที่ขึ้นชื่อทั้งแหล่งผลิตกาแฟและเป็นที่ตั้งของร้านกาแฟที่มีชื่อเสียงมากมาย
จากประสบการณ์การดื่มกาแฟที่ผ่านมานั้น สิ่งสำคัญนอกเหนือจากตัวกาแฟเองแล้ว แน่นอนว่าเทคนิคการชงของแต่ละร้าน รวมไปถึงบรรยากาศที่ได้ดื่มด่ำรสชาติกาแฟในร้านต่าง ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งที่ทำให้โลกของกาแฟน่าค้นหาและสนุกยิ่งขึ้นไปอีก
เชื่อว่าหลาย ๆ คนพอได้ตกหลุมรักกาแฟแล้ว ก็อยากจะทำงานที่ได้ใกล้ชิดกับสิ่งที่ตัวเองชื่นชอบ อาทิเช่น เป็นบาริสต้า หรือเจ้าของร้านกาแฟ มีพื้นที่ชงกาแฟในแบบของตัวเองให้ผู้อื่นได้มาร่วมสัมผัสรสชาติ แบ่งปันเรื่องราว และเปิดโลกกาแฟผ่านร้านกาแฟของตัวเองบ้างใช่มั้ยคะ

อุปกรณ์ร้านกาแฟ มีอะไรบ้าง?
การจะเตรียมตัวเปิดร้านขายกาแฟนั้น “อุปกรณ์ร้านกาแฟ มีอะไรบ้าง?” น่าจะเป็นคำถามแรก ๆ ที่ว่าที่เจ้าของร้านกาแฟส่วนใหญ่ต้องคิดและทำการบ้านอย่างหนัก เดี๋ยวเราจะมาช่วยเช็คลิสต์ไปด้วยกัน
ระหว่างนี้เราอยากชวนให้เพื่อน ๆ ลองนึกภาพร้านกาแฟในแบบที่เราอยากเปิด ดูว่าอยากจะให้เป็นร้านในรูปแบบไหน ทำเลที่ตั้งและกลุ่มลูกค้าของเราจะเป็นใคร อยากนำเสนอกาแฟแบบ Speed Bar หรือ Slow Bar เพื่อที่เพื่อน ๆ จะได้ กำหนดงบประมาณ เลือกอุปกรณ์ขายกาแฟ ว่ามีอะไรบ้างที่จำเป็นและเหมาะสมกับร้านกาแฟของเรา มาเช็คลิสท์ อุปกรณ์ร้านกาแฟว่ามีอะไรบ้างกัน!
1. เมล็ดกาแฟ
สายพันธุ์กาแฟที่นิยมใช้ในร้านกาแฟมีอยู่ 2 ชนิด

- สายพันธุ์อาราบิก้า (Arabica)
กาแฟสายพันธุ์ยอดนิยมของโลก ขึ้นชื่อเรื่องความหอมละมุน รสชาติกลมกล่อม มีรสหวานและเปรี้ยวเล็กน้อย คาเฟอีนไม่สูงมาก แต่มีราคาที่ค่อนข้างสูง ในประเทศไทยมีการปลูกกาแฟอาราบิก้าในพื้นที่ภาคเหนือ

- สายพันธุ์โรบัสต้า (Robusta)
กาแฟที่ได้รับความนิยมรองลงมาจากสายพันธุ์อาราบิก้า มีเอกลักษณ์ของกลิ่นที่ค่อนข้างรุนแรง มีความเข้มข้นและขมกว่า มีความเฟอีนสูง ราคาค่อนข้างต่ำ นิยมปลูกในแถบภาคใต้ของประเทศไทย
โดยกาแฟทั้งสองสายพันธุ์นี้จะมีเมล็ดกาแฟประเภท Specialty Coffee หรือกาแฟพิเศษที่เป็นกาแฟกลุ่มที่ได้รับการให้คะแนนที่สูงตามเกณฑ์จากสมาคมกาแฟพิเศษ (Specialty Coffee Association หรือ SCA) ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้กับการสกัดกาแฟแบบ Slow Bar
ในส่วนของ Speed Bar ส่วนใหญ่ร้านกาแฟมักจะเลือกใช้เมล็ดกาแฟสูตรพิเศษของทางร้าน หรือที่เรียกว่า เมล็ดกาแฟแบบ House Blend เป็นการผสมผสานเมล็ดกาแฟจากสายพันธุ์ แหล่งเพาะปลูก และระดับการคั่วที่แตกต่างกัน เพื่อสร้างเอกลักษณ์และรสชาติเฉพาะตัวให้กับร้าน ซึ่งมีข้อดีหลากหลาย ดังนี้
1. ได้รสชาติที่กลมกล่อม: เหมาะกับการชงเมนูกาแฟหลากหลาย เช่น กาแฟดำ กาแฟนมต่างๆ
2. ใช้งานได้ง่าย: เหมาะกับทั้งบาริสต้ามือใหม่และมืออาชีพ
3. สะท้อนตัวตนของทางร้าน: เมล็ดกาแฟ House Blend เปรียบเสมือนตัวแทนของร้าน บ่งบอกถึงรสนิยมและความตั้งใจของเจ้าของร้าน
4. ควบคุมคุณภาพ: ทางร้านสามารถควบคุมรสชาติและคุณภาพของกาแฟได้
5. ช่วยประหยัดต้นทุน: การสั่งซื้อเมล็ดกาแฟในปริมาณมากจะช่วยให้ได้ราคาที่ถูกลง

2. อุปกรณ์ชงกาแฟหน้าบาร์
1. อุปกรณ์สำหรับ Speed Bar
- เครื่องสกัดกาแฟเอสเพรสโซ่: เลือกรูปแบบหัวชงและยี่ห้อ ตามงบประมาณและขนาดของร้าน
- อุปกรณ์ทำกาแฟแบบอื่น ๆ เช่น เครื่องชงกาแฟแคปซูล
- เครื่องบดเมล็ดกาแฟแบบไฟฟ้า: หากที่ร้านใช้เมล็ดกาแฟ 2 แบบขึ้นไป ต้องแยกเครื่องบด ไม่ใช้ปนกัน
- ที่กดกาแฟ (Tamper) และ ที่เกลี่ยกาแฟ
- ก้านชง และ ตะแกรง
- ตาชั่งแบบจับเวลา
- Pitcher หรือ เหยือกตีฟองนม
- ที่วัดอุณหภูมิ
- แก้วตวง และ ถ้วยตวง

2. อุปกรณ์สำหรับ Slow Bar
อุปกรณ์สำหรับทำ Filter Coffee หรือกาแฟดริป เช่น
- ดริปเปอร์และกระดาษกรองดีไซน์ต่าง ๆ จะให้รสชาติและบอดี้กาแฟที่แตกต่างกัน
- เหยือกกาแฟและเหยือกเสิร์ฟ
- กาน้ำสำหรับดริปที่มีดีไซน์ตรงปลายปากของกาน้ำที่เหมาะสมกับการไหลของน้ำ ในรุ่นและยี่ห้อที่มีราคาสูงจะสามารถตั้งอุณหมภูมิได้ด้วย
- อุปกรณ์สกัดกาแฟประเภท Manual Espresso Machine ก็ถือเป็น Slow Bar เช่นกัน อาทิเช่น Flair, Aram, Staresso และ Moka Pot
- อุปกรณ์ทำกาแฟแบบอื่น ๆ เช่น AeroPress, Syphon หรือ French Press
- เครื่องบดเมล็ดกาแฟ (แบบมือหมุน หรือแบบไฟฟ้า)
- ตาชั่งแบบจับเวลา
3. น้ำ
น้ำที่นำมาชงกาแฟต้องมีค่า pH และค่า TDS ที่เหมาะสม
1. ค่า pH
ช่วงที่แนะนำ: 6.5 - 7.5
หากน้ำมีค่า pH ต่ำ หรือมีความเป็นกรดมาก จะส่งผลให้กาแฟมีรสเปรี้ยว และถ้าน้ำมีค่า pH สูง หรือมีความเป็นด่างมาก จะส่งผลให้กาแฟมีรสขม
2. ค่า TDS หรือ Total Dissolved Solids
คือ ปริมาณสารแขวนลอยที่อยู่ในน้ำหรือปริมาณแร่ธาตุ
ช่วงที่แนะนำ: กาแฟดริป: 125 - 175 ppm / กาแฟเอสเปรสโซ: 50 - 100 ppm
หากน้ำมีค่า TDS ต่ำ จะส่งผลให้ กาแฟมีรสจืด และถ้าน้ำมีค่า TDS สูงจะส่งผลให้ กาแฟมีรสเค็ม เฝื่อน
โดยร้านกาแฟสามารถควบคุมคุณภาพน้ำในร้านได้ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การใช้เครื่องกรองน้ำ, การใช้น้ำ RO, การผสมน้ำยี่ห้อต่าง ๆ หรือการใช้ “ผงปรุงน้ำ” เข้ามาช่วยให้ได้รสชาติที่ต้องการ
4. วัตถุดิบและอุปกรณ์เสริมสำหรับชงเครื่องดื่ม
1. น้ำเชื่อม, นมข้นหวาน หรือไซรัปกลิ่นต่าง ๆ
2. ใบชา, ผงโกโก้, ผงมัทฉะ หรือผงชาอื่น ๆ
3. แปรงชงชาและถ้วยชงชา สำหรับร้านที่มีเมนูมัทฉะ
5. อุปกรณ์ทำความสะอาด
1. ผ้ากันเปื้อน
2. ผ้าแยกใช้ตามจุดต่าง ๆ อาทิ ใช้เช็ดเครื่องชงกาแฟ, เช็ดด้ามชง, เช็ดก้านสตีมนม และเช็ดทำความสะอาดโต๊ะ
3. แปรงปัดผงกาแฟ
4. ถังเคาะกากกาแฟ
5. ถุงมือกันความร้อนได้
6. ผงทำความสะอาด และแปรงทำความสะอาดหัวกรุ๊ปเครื่องชงเอสเพรสโซ่
7 ที่ล้างพิชเชอร์ หรือ ที่ล้างอุปกรณ์แรงดันสูง
8. ถังขยะและถุงใส่ขยะ
6. ป้ายร้าน/ป้ายกระดานเมนู และเมนูร้าน
ตำแหน่งที่ตั้งป้ายร้าน เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้คนมองเห็น สะดุดตาและเลือกที่จะเดินเข้ามาร้านของเรา และอีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือเมนูของร้าน ดีไซน์การออกแบบเมนูร้านส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสั่งเมนูของลุกค้า
หากมีเมนูที่ต้องการจะนำเสนอเป็นพิเศษหรือเป็น Signature ของร้าน การออกแบบให้โดดเด่นจะช่วยดึงดูดความสนใจและผลักดันยอดขายของเมนูนั้นได้เป็นอย่างดี
7. ตู้เย็น
ใช้สำหรับเก็บรักษาความสดใหม่ของวัตถุดิบต่างๆในการชงเครื่องดื่ม
8. น้ำแข็ง/เครื่องทำน้ำแข็ง
ขนาดและดีไซน์ของน้ำแข็งก็มีส่วนสำคัญในการนำเสนอรสชาติและเมนูกาแฟของทางร้าน หากมีงบประมาณสามารถเลือกติดตั้งเครื่องทำน้ำแข็งไว้ที่ร้าน เพื่อความสะดวกและมั่นใจในคุณภาพของน้ำแข็งที่ทางร้านสามารถควบคุมความสะอาดและสุขอนามัยได้เอง หรือสั่งซื้อน้ำแข็งจากผู้ให้บริการในพื้นที่มาใส่ตู้แช่น้ำแข็งแบบรายวันก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยประหยัดงบประมาณในการลงทุน
9. ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ
1. แก้วสำหรับใช้เสิร์ฟในร้าน
2. แก้วสำหรับ Take Away ทั้งแบบเมนูเย็นและร้อน
3. ฝาแก้วแบบใส่หลอด และแบบยกดื่ม
4. หลอด
5 กระดาษทิชชู่
6. ถุงเพื่อให้ลูกค้าหิ้วกลับ
หากลองเช็คลิสท์ดูแล้วมีรายการอุปกรณ์ร้านกาแฟที่เยอะแยะมากมายไปหมด ซึ่งเพื่อน ๆ มองว่าตัวเองยังเป็นมือใหม่ในการชงกาแฟ และต้องการเลือกอุปกรณ์ร้านกาแฟที่สามารถทำกาแฟได้สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องใช้ทักษะในการทำกาแฟสูงมากนัก เครื่องชงกาแฟแบบแคปซูลอาจจะเป็นทางออกที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการเปิดร้านขายกาแฟ
หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า Nespresso เรามีเครื่องชงกาแฟแบบแคปซูลที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานในภาคธุรกิจโดยเฉพาะ ซึ่งมีดีไซน์ของเครื่องชงกาแฟและแคปซูลที่แตกต่างไปจากรุ่นที่ใช้สำหรับชงกาแฟที่บ้าน โดยเพื่อน ๆ สามารถค้นหาข้อมูลได้เพิ่มเติมหน้าเว็บไซต์ Nespresso นี้หรือโทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1800 019 090 โทรฟรี และให้บริการทุกวันเลยค่ะ
แต่หากเพื่อน ๆ อยากทดลองเปิดร้านเล็ก ๆ ด้วยเครื่องชงกาแฟแบบที่ใช้ในบ้าน เพื่อทดลองก่อนที่จะขยับขยายตามการเติบโตของร้าน เราแนะนำเครื่องชงกาแฟแบบแคปซูลรุ่น Pixie และเครื่องทำเมนูกาแฟ Barista ของ Nespresso
ซึ่่งใช้งานง่ายเพียงแค่ปลายนิ่วสัมผัสกดปุ่มก็จะได้กาแฟคุณภาพคับแก้วพร้อมเสริฟ และที่สำคัญคือ Nespresso มีกาแฟแคปซูลหลากหลายรสชาติ จากแหล่งเพาะปลูกคุณภาพต่างๆ ทั่วโลก ให้เพื่อนๆ ได้ลิ้มรส ไปพร้อมๆ กับทำความเข้าใจรสชาติกาแฟที่เป็นเอกลักษณ์ในภูมิภาคต่างๆ
เพื่อนๆ จะสามารถเลือกรังสรรค์เมนูในร้านกาแฟของตัวเองได้หลากหลาย สนุก ไม่น่าเบื่อ อีกทั้งยังสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน ทั้งสำหรับเจ้าของร้านหรือพนักงงานที่เป็นมือใหม่หัดชงกาแฟเองด้วย
ถ้าเพื่อน ๆ สนใจอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมหรืออยากสัมผัสการใช้งานจริง สามารถแวะไปสอบถามพนักงานที่หน้าร้าน Nespresso ทั้ง 9 สาขาที่สะดวกเดินทางได้นะคะ
บทความถูกเขียนโดย
คุณพิม เนสเพรสโซนาโนบูติก เซ็นทรัล เฟสติวัล เชียงใหม่